ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วันงดสูบบุหรี่โลก







"องค์การอนามัยโลก"

ได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี

เป็น“วันงดสูบบุหรี่โลก”

ในปี 2548 ใช้คำขวัญในการรณรงค์ว่า

"Health Profressionls and Tobacco Control"

"ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่"


         เริ่มมีการจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
        การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดโรคบางโรคมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค บุหรี่ยังทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย
        องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day) มีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี
         บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ นิโคติน ทาร์ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดนั้น ร้อยละ 90 เป็นผลเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ และถ้าสูบเกินวันละ 1 ซอง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 5-20 เท่า นอกจากนี้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบร้อยละ 80 และโรคหัวใจร้อยละ 50 ก็มีผลมาจากการสูบบุหรี่เช่นเดียวกัน


ทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่
        1. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535
มีสาระสำคัญคือ การประกาศเขตปลอดบุหรี่ โดยแบ่งเขตปลอดบุหรี่ออกเป็น 4 กลุ่มคือ
            - เขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง เช่น รถยนต์โดยสารประจำทางทั้งที่ปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ แท็กซี่ ตู้รถไฟปรับอากาศ ห้องชมมหรสพ
            - เขตปลอดบุหรี่ทั้งหมดเช่น โรงเรียน ห้องสมุด ยกเว้น ห้องส่วนตัว
            - เขตปลอดบุหรี่เกือบทั้งหมด เช่น สถานพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ หากจะสูบก็ให้สูบเฉพาะเขตสูบบุหรี่
            - เขตปลอดบุหรี่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่นั้นๆ เช่น ตู้รถไฟโดยสารทั่วไป(ไม่ปรับอากาศ) และร้านขายอาหารทั่วๆ ไป เฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ แต่ต้องจัดเขตสูบบุหรี่ไม่ให้เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด

        2. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
มีสาระสำคัญคือการห้ามขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ห้ามขายสินค้าอื่นและแถมบุหรี่ให้ หรือ ขายบุหรี่แล้วแถมสินค้าอื่นๆ และห้ามการโฆษณาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
        การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ มิใช่จะกระทำแค่วันเดียว แต่ต้องทำอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพและอนามัยที่ดีแก่ตนเองและผู้ใกล้ชิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น